27 ตุลาคม 2563

บทความโควิด 19

                                                              โรคโควิด 19 คืออะไร ???                                                         
    โรคโควิด 19 คือโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการ ค้นพบล่าสุด
     ไวรัสและโรคอุบัติใหม่นี้ ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมีการระบาดใน เมืองอู่ฮั่นประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี2019 ขณะนี้ โรคโควิด19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่ว ส่งผลกระทบแก่หลาย ประเทศทั่วโลก



ต้นกําเนิดของไวรัส
    ต้นตอของไวรัสน่าจะมาจากการที่  ไวรัสจากสัตว์ตัวกลางระบาดมาสู่คน ผู้ป่วยรายแรกเท่าที่ ทราบกัน เริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่  1 ธันวาคม และไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน แต่ผู้ป่วย หลายรายอาจมีมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนหรือก่อนหน้านั้น  มีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปส่งตรวจและพบเชื้อไวรัส และพบมากที่สุดในบริเวณที่ค้าสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม ตลาดอาจเป็นต้นกําเนิดของไวรัส หรืออาจมีบทบาทในการขยายวงของ การระบาดในระยะเริ่มแรก

   วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม
สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้
ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก
ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม
เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย
หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากโปรดไปพบแพทย์
โปรดติดต่อล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะแนะนำให้คุณไปยังสถานพยาบาลที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยปกป้องคุณ รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและการติดเชื้ออื่นๆ
หน้ากากอนามัย
หน้ากากอนามัยช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่สวมแพร่กระจายไวรัสไปยังผู้อื่น อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียวป้องกันเชื้อโควิด-19 ไม่ได้ จึงควรรักษาระยะห่างและหมั่นทำความสะอาดของมือร่วมด้วย รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่



สถิติสถานการณ์



บทวิเคราะห์สถานการณ์
 สัดส่วนของผู้ป่วยด้วยโรค COVID-19 ที่พบนอกกรุงเทพมหานครกําลังเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี้ มีรายงานการพบผู้ป่วยในจังหวัดต่างๆ กว่า 2 ใน 3 จังหวัดของประเทศไทย ระบบสาธารณสุขระดับภูมิภาคที่รวมถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ของหน่วยเคลื่อนที่เร็วและอาสาสมัครสาธารณสุขประจํา หมู่บ้านมีความแข็งแกร่ง โดยจะทําหน้าที่ระบุผู้ป่ วยที่ต้องสงสัย แยกผู้ป่ วยดังกล่าวออกจากบุคคลอื่นอย่างรวดเร็วให้การรักษา ติดตามและกัก ตัวผู้สัมผัสใกล้ชิด การแยกผู้ติดเชื ้อออกจากบุคคลคนอื่นอย่างรวดเร็วจะช่วยลดโอกาสในการแพร่กระจายของไวรัส และเป็นวิธีการที่มี ข้อมูลจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทย วันที่ 27 มีนาคม 2563 สถานการณ์ในประเทศไทย จํานวนผ้ป่ วย ู ทั้งหมดและผ้ป่ วย ู ใหม่ ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ยืนยันแล้ว 1,136 ราย (91รายใหม่) เสียชีวิต 5ราย เป็นผู้ป่ วยหนัก 11 ราย กําลังรับการรักษาในโรงพยาบาล 953 ราย หายดีแล้ว 97 ราย โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย – 27 มี.ค. 2563 ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคระบาดในประชากร เป้าหมายคือการยับยั ้งและควบคุมการแพร่กระจายของโรคโควิด 19 ให้ได้ในทุกจังหวัดที่ ได้รับผลกระทบ ทุกคนมีบทบาทในการช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมายนี ้โดยให้พักอยู่แต่ในบ้านถ้าเป็นไปได้รักษาระยะห่างจากผู้อื่น 1-2 เมตรถ้าต้องออกไปข้าง นอก ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และนํ ้าหรือเจลล้างมือแอลกอฮอล์หลีกเลี่ยงการสัมผัสปากและจมูก และปฏิบัติตามคําแนะนําเกี่ยวกับอนามัย ทางเดินหายใจ (ไอใส่ข้อศอกหรือใช้ทิชชูและทิ ้งในภาชนะที่ปลอดภัย) ทุกคนที่เดินทางจากกรุงเทพมหานครไปยังต่างจังหวัดใน 14 วันที่ผ่านมา และผู้ที่มีอาการของโรคโควิด 19 ควรแยกตัวออกจากผู้อื่น สวมหน้ากาก และไปพบแพทย์ทันที 














25 สิงหาคม 2563

นายเนติพงษ์ วงษ์อัยรา ข้อมูลมีค่า

 

ข้อมูล” กำลังเป็นสิ่งมีค่ามากกว่า “น้ำมัน”


“ข้อมูล” กำลังเป็นสิ่งมีค่ามากกว่า “น้ำมัน” /โดย ลงทุนแมน
หากเป็นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว คงไม่มีใครคาดคิดว่า ราคาน้ำมันจะดิ่งลงมากขนาดนี้
เพราะเรารู้กันดีว่า น้ำมันเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
ดังนั้นน้ำมันน่าจะมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยซ้ำ
แต่โควิด-19 ก็ได้พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่าความเชื่อนั้นไม่เป็นจริงเสมอไป
เพราะในวันที่คนออกจากบ้านน้อยลง เดินทางน้อยลง
น้ำมันที่เคยมีค่าในวันนั้น
กลับกลายเป็นของที่ผลิตได้มากล้น จนเกินกักเก็บได้
แล้วในตอนนี้ มีทรัพยากรอะไรที่ “มีค่า” มากกว่าน้ำมัน?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์ เจาะลึกแบบ deep content ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เป็นเรื่องประหลาดที่สิ่งที่มีค่ามากกว่าน้ำมันนั้น
มีคุณสมบัติตรงข้ามกับน้ำมัน
เพราะเป็นทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด และดูเหมือนจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่ถึงแม้มันจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเท่าไร
คุณค่าของมันกลับไม่ได้ลดลงเหมือนทรัพยากรทั่วไป
แถมสิ่งนี้ไม่ได้มีตัวตนจับต้องได้
ล่องลอยไปในอากาศ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะใช้ประโยชน์จากมันให้มีประสิทธิภาพที่สุด
ทรัพยากรที่ว่านั้นก็คือ “ข้อมูล” นั่นเอง..
ถ้าเราลองดูบริษัทที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกในปี 2019 เราก็จะพบว่า
Amazon มีมูลค่าบริษัท 30 ล้านล้านบาท
Google มีมูลค่าบริษัท 28 ล้านล้านบาท
Facebook มีมูลค่าบริษัท 16.6 ล้านล้านบาท
บริษัทอันดับต้นๆ ของโลก ล้วนมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน
นั่นคือ เป็นบริษัทเทคโนโลยี
สิ่งที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้กับธุรกิจเทคโนโลยีนั้น
ไม่ใช่เพียงแค่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
หรือฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานเท่านั้น
แต่มันคือ “ข้อมูล” ของผู้ใช้งาน
Google รู้ว่าเราอยากหาข้อมูลอะไร
Facebook รู้ว่าเราชอบเสพเรื่องราวประเภทไหน
Amazon รู้ว่าเราอยากซื้อเสื้อผ้าหรือสินค้าแบบไหน
เพียงเท่านี้ บริษัทเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์มหาศาลจากข้อมูลของเรา
โดยนำข้อมูลการใช้งานของเราไปวิเคราะห์และประมวลผล
ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงตัวตนของเราได้ง่ายขึ้น
จากนั้นก็จะนำเสนอข้อมูล สินค้า หรือออกแบบผลิตภัณฑ์
ที่เราน่าจะสนใจและตรงกับความต้องการของเรา
รวมถึงทำการตลาดที่เหมาะสมกับตัวตนของเรามากขึ้น
หรือแม้แต่มีผลต่อความคิดเห็นทางการเมือง
ตัวอย่างก็คือการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในปี 2016
ชัยชนะของดอนัลด์ ทรัมป์ไม่ได้เหมือนการเลือกตั้งในครั้งก่อนๆ
แต่เป็นชัยชนะโดยใช้ข้อมูลที่วิเคราะห์และประมวลผลอย่างดีแล้วใช้มันในการหาเสียง
ในขณะที่บริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ประโยชน์จากข้อมูลของเรา
ส่วนเราก็อาจจะได้ผู้ช่วยที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของเราได้ดียิ่งขึ้น
แต่นั่นก็เป็นดาบสองคมที่ย้อนกลับมาทำลายความเป็นส่วนตัวของเราเช่นกัน
เพราะกลายเป็นว่าเราจะไม่หลงเหลือความเป็นส่วนตัวในชีวิตเลย..

วิทยาการข้อมูล(data science)

 วิทยาการข้อมูล

    วิทยาการข้อมูล ( Data science) เป็นสหสาขาวิชาที่ใช้วิธีการ กระบวนการ อัลกอริทึม และระบบทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อหาความรู้จากข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ทั้งจัดเก็บเป็นระเบียบและไม่เป็นระเบียบ[1][2] เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองข้อมูล การเรียนรู้เชิงลึก และข้อมูลขนาดใหญ่


วิทยาการข้อมูลเป็นศาสตร์ที่เป็นการบูรณาการสถิติศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล และการเรียนรู้ของเครื่องเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในข้อมูลได้[3] ใช้เทคนิคและทฤษฎีที่ได้มาจากคณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิทยาการสารสนเทศ


จิม เกรย์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลทัวริงมองว่า วิทยาการข้อมูลเป็นวิทยาศาสตร์แขนงที่สี่ ต่อยอดมาจากวิทยาศาสตร์การทดลอง วิทยาศาสตร์ทฤษฎี และวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ โดยเชื่อว่าทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์กำลังจะเปลี่ยนไปโดยอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศและการเพิ่มขึ้นของข้อมูล[4][5]


                                                



6G เทคโนโลยีแห่ง AI จะตาม 5G มาในไม่ช้านี้


 5G กำลังจะถูกทยอยนำมาใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มต้นตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป เหล่าวิศวกรทั้งหลายก็หันมาให้ความสนใจกับขั้นต่อไปของเทคโนโลยีว่าจะออกมาในรูปแบบไหน คงเป็นเรื่องยากที่จะโต้แย้งว่าเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายได้เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์ ทั้งการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองและมนุษย์กับโลกทั้งใบ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ นี่อาจจะเป็นสิ่งเดียวที่เป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของยุคสมัยศตวรรษที่ 21

ที่ผ่านมาการเปิดตัว 5G ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเกาหลีใต้ที่ผ่านมา เป็นเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อการยานพาหนะแห่งอนาคต คือ การเรียนรู้ที่จะเคลื่อนที่ได้เอง โดยอาศัยข้อมูลที่ผ่านมา นั้นจึงเป็นสาเหตุของกลุ่มนักวิจัยจาก Jacobs University Bremen ซึ่งได้ศึกษาเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคต่อไปคือ ยุค 6G ซึ่งก็นำมาสู่คำถามที่ว่าหลังจากนี้จะมีอะไรอีก? 6G จะเป็นแบบไหนกัน? แตกต่างกันยังไง? มีอะไรที่สามารถทำเพิ่มขึ้นมาได้บ้างจาก 5G?



คำตอบอาจจะยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก แต่ก็มีบางอย่างที่พอเป็นเค้าลางให้เห็นว่ามันน่าจะออกมาในรูปแบบไหน เรื่องนี้ต้องขอบคุณผลงานของ Razvan-Andrei Stoica และ Giuseppe Abreu ที่มหาวิทยาลัย Jacobs University Bremen ประเทศเยอรมนี ทั้งสองคนได้นำเอาข้อจำกัดของเทคโนโลยี 5G มาชำแหละและดูว่ามีปัจจัยไหนที่สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนให้พัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย และ 6G น่าจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี AI 

โดยงานวิจัยกรณีศึกษา 6G พบว่า การพัฒนาพัฒนาการสื่อสารในยุคนั้นจะเป็นการสื่อสารที่แก้ไขข้อบกพร่องของเทคโนโลยี 5G ในเรื่องทางกายภาพของคลื่น และแก้ไขปัญหาทางด้านเทคโนโลยี AI เมื่อระบบ AI ทำงานผ่านระบบแอปพลิเคชันไปได้สักพัก เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น การเรียนรู้ขับยานพาหนะ, การเรียนรู้การเกษตร ซึ่งจะเริ่มที่จะเกิดการตัดสินใจเกิดขึ้น


ระบบจะมีการสั่งการด้วยการเรียงลำดับความเป็นไปเพื่อการตัดสินใจของข้อมูล ซึ่งจะต้องรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางระบบจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากก็ยิ่งต้องรับส่งสัญญาณทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเช่นกัน เช่น หากต้องให้ AI ขับรถยนต์อิสระด้วยระยะทางประจำก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าต้องขับรถนอกเส้นทาง ระบบจะต้องมีการประมวลผลบนแผนที่ที่กว้างขึ้น กระบวนการทางความคิดและการตัดสินใจย่อมใหญ่ขึ้น นั้นเท่ากับว่าต้องรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น

ซึ่ง 5G เป็นเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่จะมารับรองสถานการณ์นี้ โดยที่ในอนาคตจะเกิดการรบกวนของสัญญาณ และเกิดการใช้แบนด์วิดท์(ช่องสัญญาณในการรับส่งสัญญาณ) มากกว่าเดิม ซึ่งเมื่อถึงยุคนั้นระบบ 5G จะเกินขีดความสามารถอย่างแน่นอน ดังนั้น นักวิจัยส่วนใหญ่จึงพยายามแยกคลื่นความถี่ กายภาพในระดับต่ำและสูง โดยมุ่งเน้นไปที่คลื่นที่มีความถี่ต่ำๆ มารองรับฮาร์ดแวร์เนื่องจากรับส่งข้อมูลได้ปริมาณมหาศาลระดับ mmWave

บทความโควิด 19

                                                              โรคโควิด 19 คืออะไร ???                                                      ...